ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559

เหตุการณ์เด่น :มูฮาร์แรม เคอแซ (ถูกกล่าวหา)
เฟทฮุลลาห์ กือแลน (ถูกกล่าวหา)บีนาลี ยึลดือรีม (นายกรัฐมนตรี)
ฮูลูซี อาคาร์ (ประธานเสนาธิการกองทัพ)
อือมิท ดึนดาร์ (แม่ทัพภาคที่ 1/รักษาการประธานเสนาธิการ)ระหว่างวันที่ 15–16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ได้เกิดความพยายามกระทำรัฐประหารในประเทศตุรกี แต่ล้มเหลวในที่สุด กล่าวกันว่าเหตุการณ์นี้มาจากการวางแผนของกลุ่มทหารกลุ่มหนึ่งในกองทัพตุรกี[15][16][17] แต่ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาพยายามก่อรัฐประหารด้วยสาเหตุใด ทหารกลุ่มดังกล่าวได้ออกมายึดอำนาจในช่วงที่ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน อยู่ระหว่างการพักร้อน โดยได้นำกองกำลัง รถถัง และเฮลิคอปเตอร์เข้ายึดสถานที่สำคัญ เช่น สถานีโทรทัศน์ ท่าอากาศยาน สะพานต่าง ๆ ในกรุงอังการาและนครอิสตันบูล ต่อมาแอร์โดอันเรียกร้องให้ประชาชนออกมารวมตัวกันตามท้องถนนเพื่อต่อต้านรัฐประหาร[18]แม้ว่าความพยายามดังกล่าวจะไม่บรรลุผล แต่ทรัพย์สินต่าง ๆ ก็ถูกทำลาย มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่าพันคน และมีผู้เสียชีวิตกว่าสองร้อยคนเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย เช่น อาคารรัฐสภาตุรกีและทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงอังการาถูกโจมตีด้วยระเบิด[6][7][8][9] จากรายงานของสำนักข่าวโดอัน ฝ่ายผู้ก่อการได้ระดมยิงใส่กลุ่มพลเรือนที่พยายามจะข้ามสะพานบอสพอรัสเพื่อประท้วงการก่อรัฐประหาร ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายคน[19] นอกจากนี้ยังมีรายงานเสียงปืนใกล้ท่าอากาศยานในกรุงอังการาและนครอิสตันบูลด้วย[19]ปฏิกิริยาที่มีต่อความพยายามก่อรัฐประหารครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นไปในทางไม่เห็นด้วย ทั้งจากภายในประเทศและจากนานาชาติ พรรคฝ่ายค้านหลัก ๆ ในตุรกีต่างประณามการกระทำดังกล่าว ขณะที่บรรดาผู้นำในระดับนานาชาติ เช่น ผู้นำจากสหภาพยุโรป, องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ, สหรัฐอเมริกา ออกมาเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในตุรกีเคารพสถาบันทางประชาธิปไตยและผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง[20][21]รัฐบาลชุดปัจจุบันของตุรกีได้ประกาศว่าการก่อรัฐประหารประสบความล้มเหลวและเริ่มตามจับกุมผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรวดเร็ว ปฏิกิริยาแรกของทางการมาจากนายกรัฐมนตรีบีนาลี ยึลดือรึม ซึ่งออกแถลงการณ์ผ่านสื่อในวันถัดมาโดยระบุว่าสถานการณ์ "อยู่ภายใต้การควบคุม [ของรัฐบาล] โดยสมบูรณ์แล้ว" มีทหารจำนวน 2,839 นายถูกควบคุมตัวภายใน 48 ชั่วโมง[22]

ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559

สถานะ ล้มเหลว[5]

เหตุการณ์เด่น :

  • อาคารรัฐสภาตุรกีถูกโจมตีด้วยระเบิด[6][7][8]
  • ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงอังการาถูกโจมตีด้วยระเบิด[9]
  • บ้านพักของแอร์โดอันในเมืองมาร์มาริสถูกโจมตี นำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับทหารที่สนับสนุนรัฐประหาร[1]
วันที่สถานที่สถานะ
วันที่15–16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
สถานที่อังการา, อิสตันบูล, มาร์มาริส[1] และมาลัตยา[2][3]
การปะทะกันอย่างรุนแรงน้อยกว่ารวมทั้งการจับกุมทั่วประเทศ[4]
สถานะล้มเหลว[5]

เหตุการณ์เด่น :

  • อาคารรัฐสภาตุรกีถูกโจมตีด้วยระเบิด[6][7][8]
  • ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงอังการาถูกโจมตีด้วยระเบิด[9]
  • บ้านพักของแอร์โดอันในเมืองมาร์มาริสถูกโจมตี นำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับทหารที่สนับสนุนรัฐประหาร[1]
สถานที่ อังการา, อิสตันบูล, มาร์มาริส[1] และมาลัตยา[2][3]
การปะทะกันอย่างรุนแรงน้อยกว่ารวมทั้งการจับกุมทั่วประเทศ[4]
วันที่ 15–16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความพยายามรัฐประหารในประเทศตุรกี พ.ศ. 2559 http://live.aljazeera.com/Event/TURKEY_COUP_ATTEMP... http://www.aljazeera.com/news/2016/07/turkey-prime... http://edition.cnn.com/2016/07/15/world/live-blog-... http://www.cnn.com/2016/07/15/asia/turkey-military... http://abcnews.go.com/International/attempted-mili... http://www.haaretz.com/middle-east-news/turkey/1.7... http://www.haber7.com/ic-politika/haber/2046645-1-... http://www.hurriyetdailynews.com/opposition-partie... http://www.hurriyetdailynews.com/top-commander-sav... http://www.nytimes.com/live/turkey-coup-erdogan/